รปม. ม.สยาม รุ่นที่ 12 - 13

ยินดีต้อนรับสู่แหล่งรวมข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษา หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสยาม รุ่นที่ 12 - 13

ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล ผวจ.นครปฐม และ นักศึกษา รปม.12 ม.สยาม

งานเลี้ยงสังสรร รปม. รุ่น 12 ค่ำวันอาทิตย์ที่ 6 มิถุนายน 2553

วันอาทิตย์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐมบรรยายพิเศษ



เมื่อวันอาทิตย์ที่ 27 มิถุนายน 2553 เวลา 13.00 น. ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม ให้เกียรติมาเป็นอาจารย์บรรยายพิเศษ ให้แก่นักศึกษา รปม. รุ่น 12 มหาวิทยาลัยสยาม ในหัวข้อ "ข้าราชการในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ"

วันอาทิตย์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2553



วันอาทิตย์ที่ 20 มิถุนายน 2553 เวลา 13.00 - 16.00 น. นายเริงศักดิ์ มหาวินิจฉัยมนตรี ผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี ให้เกียรติมาบรรยายพิเศษในชั้นเรียน รปม. ในหัวข้อเรื่อง "การบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ"

แสดงความยินดีกับสมาชิกใหม่ (น้องผิงผิง)


วันอาทิตย์ที่ 20 มิถุนายน 2553 ก่อนเริ่มเรียน ด.ร.สุรพล กาญจนะจิตรา คณบดีบัณฑิตวิทยาลัยรัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต เป็นตัวแทนของ รปม.รุ่น 12 มอบของขวัญให้แก่นายปรีชา ดิษย์เมธาโรจน์ เพื่อแสดงความยินดีในโอกาสได้รับสมาชิกใหม่ของครอบครัว (ลูกสาว) ชื่อน้องผิงผิง

วันอาทิตย์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2553

อาจารย์พิเศษ วันอาทิตย์ที่ 13 มิถุนายน 2553

นายสุธรรม ส่งศิริ

วันอาทิตย์ที่ 13 มิถุนายน 2553 นายสุธรรม ส่งศิริ อ.ก.พ.วิสามัญเกี่ยวกับการสร้างและพัฒนาคุณภาพกำลังคนภาครัฐ ให้เกียรติมาบรรยายให้นักศึกษา รปม. รุ่น 12 ม.สยาม ในหัวข้อเรื่อง ธรรมาภิบาลกับการบริหารงานภาครัฐแนวใหม่

คลิ๊กที่นี่เพื่อดาวน์โหลดไฟล์ Powerpoint

แสดงความยินดีในชั้นเรียน



วันอาทิตย์ที่ 13 มิถุนายน 2553 ก่อนเริ่มเรียนวิขาการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ ดร.สุรพล กาญจนะจิตรา คณบดี มอบของขวัญของ รปม. รุ่น 12 ให้แก่ ไชยทัต นิวาศะบุตร เพื่อแสดงความยินดีเนื่องในโอกาสที่ได้สมาชิกใหม่ในครอบครัว (เด็กชายณภัทร นิวาศะบุตร : น้องนนท์) ซึ่งไชยทัต นิวาศะบุตร (Blog Admin ) ขอขอบคุณเพื่อนๆทุกคนไว้ ณ โอกาสนี้
ท่านที่ต้องการชมภาพของน้องนนท์ โปรดคลิ๊กที่ลิงค์ด้านล่างนี้
http://www.littlepink2006.com/

วันอาทิตย์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2553

การยรรยายพิเศษวันอาทิตย์ที่ 6 มิ.ย.53



นายสีมา สีมานันท์ อดีตเลขาธิการ ก.พ. ให้เกียรติมาบรรยายในหัวข้อ "ประสบการณ์ของนักบริหาร" เมื่อวันอาทิตย์ที่ 6 มิถุนายน 2553 เวลา 13.00 - 16.00 น.




ช่วงพักตอนบ่ายสองครึ่ง ถ่ายภาพหมู่เป็นที่ระลึก



ภาพบรรยากาศในห้องเรียน ขณะที่กลุ่มนักศึกษา รปม. รุ่น 12 กำลังรอการบรรยายพิเศษ โดยนายสีมา สีมานันท์ อดีตเลขาธิการ ก.พ. เวลา 13.00 - 16.00 น.

น้องอุ๊..เกรงใจอาจารย์มาก เมื่อมีคนโทรศัพท์เข้ามา เธอลงทุนมุดลงไปใต้โต๊ะเพื่อรับโทรศัพท์ แหม..ทำไปได้นะน้อง

วันเสาร์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2553

วัฒนธรรมองค์การ (Organization Culture)

วัฒนธรรมองค์การ คือ วิถีชีวิตของคนในองค์การ

ประโยชน์ เครื่องมือการพัฒนาองค์การ
1. วัฒนธรรมแข็ง องค์การมีประสิทธิภาพ
2. วัฒนธรรมอ่อน องค์การไร้ประสิทธิภาพ

องค์ประกอบ มีดังนี้
1. ค่านิยม สิ่งที่องค์การเชิดชู
- เช่น คุณภาพสินค้า / บริการ

2. ประเพณีปฏิบัติ
- เกี่ยวกับการผลิตสินค้า
- เกี่ยวกับการบริการ

3. บุคคล
- ที่มีคุณภาพ (คุณธรรม ความสุข)

4. วัตถุ
- เครื่องมือ เครื่องใช้ อาคาร ยานพาหนะ

5. สภาพแวดล้อม
- เป็นมิตร สามัคคี สวัสดิการ สวนสาธารณะ หน่วยอนามัย บ้านพัก

ค่านิยมของข้าราชการยุคใหม่

ค่านิยมของข้าราชการยุคใหม่ สามารถเขียนเรียงตามอักษรย่อภาษาอังกฤษได้ว่า I AM READY

Lecture วิชาระบบสังคมฯ - อ.สัญญา - 5 มิ.ย. 2553 ช่วงเช้า

บทนำ
ปริยัติ – ปฏิบัติ – ปฏิเวธ เป็นหลักสำคัญในพระพุทธศาสนา
ปริยัติ เป็นชื่อเรียกคำสอนทั้งปวงที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้
ปฏิบัติ ปฏิบัติตนตามนัยที่พระองค์ทรงสอนไว้
ปฏิเวธ เป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นมาเองภายในใจของผู้ปฏิบัติ เป็นของเฉพาะแต่ละบุคคลไม่ใช่ของเกิดได้ในสาธารณะทั่วไป
ทีนี้จะพูดถึงหลักความจริงแล้วมันจะกลับกันจากความเข้าใจของคนทั่วไป คือ ปริยัติ เกิดมาจากปฏิเวธ ปฏิเวธ จะเกิดได้เพราะปฏิบัติ ถ้าไม่ปฏิบัติก็ไม่ถึงปฏิเวธ ไม่มีปฏิเวธ เมื่อไม่มีปฏิเวธ คือไม่รู้แจ้งเห็นจริงก็บัญญัติไม่ถูก ( บัญญัติ ก็คือปริยัติ ) บัญญัติไม่ถูกก็ไม่มีปริยัติ เมื่อพูดตามความเป็นจริงแล้วมันต้องเป็นอย่างนั้น
ที่ท่านตั้งเป็นแนวไว้ว่า ปริยัติ – ปฏิบัติ – ปฏิเวธ คือเรียนรู้เสียก่อน เมื่อรู้เรื่องแล้วจึงค่อยปฏิบัติ ปฏิบัติได้แล้วจึงค่อยถึงปฏิเวธ
สุ จิ ปุ ลิ คือ หัวใจนักปราชญ์ นักปราชญ์แปลว่า "ผู้รู้"
สุ คือ สุตตามยปัญญา หรือปัญญาอันเกิดจากการฟัง (Knowing)
จิ คือ จินตามยปัญญา หรือปัญญาอันเกิดจากการคิด (Understanding)
ปุ คือ ปุจฉา หรือคำถาม
ลิ คือ ลิขิต หรือการเขียน
ภาวนามยปัญญา ปัญญาขั้นสูงสุด เกิดจากการปฎิบัติ เกิดจากประสบการณ์

ความต้องการหรือความอยาก ที่เป็น ตัณหา กับ ฉันทะ
"ตัณหา" คือ ความทะยานอยาก, ความดิ้นรน, ความปรารถนา, ความแส่หา มี ๓ คือ
1. กามตัณหา : ความทะยานอยากในกาม ... อยากได้อารมณ์อันน่ารักใคร่
2. ภวตัณหา : ความทะยานอยากในภพ ... อยากเป็นนั่นเป็นนี่
3. วิภวตัณหา : ความทะยานอยากในวิภพ ... อยากไม่เป็นนั่นไม่เป็นนี่ ... อยากพรากพ้นดับสูญไปเสีย
"ฉันทะ" คือ
1. ความพอใจ, ความชอบใจ ความยินดี, ความต้องการ, ความรัก ใคร่ในสิ่งนั้น ๆ, ความรักงาน (เป็นกลาง ๆ เป็นอกุศลก็มี เป็นกุศลก็มี, เป็นอัญญสมานาเจตสิกข้อ ๑๓, ที่เป็นอกุศล เช่นในกามฉันทะ ที่เป็นกุศล เช่น ข้อ ๑ ใน อิทธิบาท ๔)
2. ความยินยอม, ความยอมให้ที่ประชุมทำกิจนั้น ๆ ในเมื่อตนมิได้ร่วมอยู่ด้วย
อริยบุคคลจะต้องมีความรู้และความสามารถทางธรรม(มีวิชชา)ในการละสังโยชน์ทั้ง ๑๐ ข้อเป็นขั้น ๆ คือ ละตั้งแต่สังโยชน์เบื้องต่ำจนถึงละสังโยชน์เบื้องสูง ซึ่งจัดว่า เป็นแนวทางการปฏิบัติธรรมเพื่อความพ้นทุกข์ในระดับต่าง ๆ ซึ่งมี ๔ ระดับ ดังนี้
ระดับที่ ๑. การละสังโยชน์ของพระโสดาบัน คือ การเริ่มมีความรู้ในเรื่องอริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง(เริ่มละความหลงได้ หรือเริ่มละอวิชชาได้ หรือเริ่มมีวิชชา) ได้แก่การเริ่มละความเห็นว่าเป็นตัวของตน(สักกายทิฏฐิ) เริ่มละความลังเลสงสัย(วิจิกิจฉา) เริ่มละความถือมั่นในข้อปฏิบัติต่าง ๆ นอกพระพุทธศาสนา(สีลัพพตปรามาส)ได้บ้างแล้ว. ในสมัยพุทธกาล พระโสดาบัน คือ บุคคลที่มีดวงตาเห็นธรรม ซึ่งหมายถึงการเริ่มมีความรู้ในอริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง* ที่เกิดขึ้นภายหลังการฟังธรรมที่ถูกต้องและครบถ้วนเป็นครั้งแรก
ระดับที่ ๒. การละสังโยชน์ของพระสกิทาคามี คือ การมีความรู้และความสามารถในการละสังโยชน์ของพระโสดาบัน + ละกิเลส(ละความโลภ โกรธ หลง)ให้เบาบางลงด้วย กล่าวคือ มีความรู้และความสามารถในการละกิเลสอย่างหยาบ(ละสังโยชน์เบื้องต่ำ)ได้มากขึ้น
ระดับที่ ๓. การละสังโยชน์ของพระอนาคามี คือ การมีความรู้และความสามารถในการละสังโยชน์ของพระสกิทาคามี + การละความคิดกำหนัดยินดีในกามคุณ(ละกามราคะหรือละความโลภ)และละความคิดขัดเคืองใจ(ละปฏิฆะหรือละความโกรธ) ซึ่งเป็นการละสังโยชน์เบื้องต่ำได้ทั้งหมด
ระดับที่ ๔. การละสังโยชน์ของพระอรหันต์ คือ การมีความรู้และความสามารถในการละกิเลส(ความโลภ โกรธ หลง)ได้หมดสิ้น หรือละสังโยชน์ทั้งเบื้องต่ำและเบื้องสูงได้หมด

การตัดสังโยชน์ 10 เป็นพระอรหันต์
สังโยชน์ 10 ประการได้แก่
ข้อที่ 1 สักกายทิฏฐิ มีความรู้สึกว่าร่างกายนี้เป็น เราเป็นของเรา เรามีในร่างกาย ร่างกายมีในเรา
ข้อที่ 2 วิจิกิจฉา สงสัยในคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรม และพระอริยสงฆ์
ข้อที่ 3 สีลัพพตปรามาส ลูบคลำศีลไม่รักษาศีลจริงจัง
ข้อที่ 4 กามฉันทะ พอใจในกามคุณ
ข้อที่ 5 ปฏิฆะ มีอารมณ์กระทบใจ จิตมีความโกรธ
ข้อที่ 6 รูปราคะ หลงในรูปฌาน
ข้อที่ 7 อรูปราคะ หลงในอรูปฌาน
ข้อที่ 8 มานะ มีการถือตัวถือตน
ข้อที่ 9 อุทธัจจะ มีอารมณ์ฟุ้งซ่าน
ข้อที่ 10 อวิชชา ไม่รู้ตามความจริงของเรื่องนิพพาน

ระบบ หมายถึง องค์รวมของสิ่งต่างๆ ที่จำเป็น สำหรับเรื่องหนึ่งเรื่องใด
Out Come Mapping ของทบวงมหาวิทยาลัย สำหรับบัณฑิต ตรี โท เอก ทบวงต้องการให้มีลักษณะ 5 ประการ
1. มีความรู้ในหลักสูตรนั้นๆ
2. มีคุณธรรม ความดี
3. มีปัญญา
4. มีทักษะในการติดต่อกับผู้อื่นหรือเพื่อนมนุษย์
5. มีทักษะทางคณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี
มนุษยสัมพันธ์ การสื่อสาร ภาษา ท่าทาง ตัวอย่าง
1. ทักษะทางสื่อสาร การสื่อสารที่ไม่เหมาะสม
2. คำตอบที่ไม่ตรงประเด็น ต้องตอบให้ตรงประเด็นก่อนแล้วค่อยขยายความ

สังคหวัตถุ 4
สังคหวัตถุ 4 หมายถึง หลักธรรมที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจของผู้อื่น ผูกไมตรี เอื้อเฟื้อ เกื้อกูล หรือเป็นหลักการสงเคราะห์ซึ่งกันและกัน มีอยู่ 4 ประการ ได้แก่
1. ทาน คือ การให้ การเสียสละ หรือการเอื้อเฟื้อแบ่งปันของๆตนเพื่อประโยชน์แก่บุคคลอื่น ไม่ตระหนี่ถี่เหนียว ไม่เป็นคนเห็นแก่ได้ฝ่ายเดียว คุณธรรมข้อนี้จะช่วยให้ไม่เป็นคนละโมบ ไม่เห็นแก่ตัว เราควรคำนึงอยู่เสมอว่า ทรัพย์สิ่งของที่เราหามาได้ มิใช่สิ่งจีรังยั่งยืน เมื่อเราสิ้นชีวิตไปแล้วก็ไม่สามารถจะนำติดตัวเอาไปได้
2. ปิยวาจา คือ การพูดจาด้วยถ้อยคำที่ไพเราะอ่อนหวาน พูดด้วยความจริงใจ ไม่พูดหยาบคายก้าวร้าว พูดในสิ่งที่เป็นประโยชน์เหมาะสำหรับกาลเทศะ พระพุทธเจ้าทรงให้ความสำคัญกับการพูดเป็นอย่างยิ่ง เพราะการพูดเป็นบันไดขั้นแรกที่จะสร้างมนุษย์สัมพันธ์อันดีให้เกิดขึ้น วิธีการที่จะพูดให้เป็นปิยวาจานั้น จะต้องพูดโดยยึดถือหลักเกณฑ์3. อัตถจริยา คือ การสงเคราะห์ทุกชนิดหรือการประพฤติในสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น
4. สมานัตตา คือ การเป็นผู้มีความสม่ำเสมอ หรือมีความประพฤติเสมอต้นเสมอปลาย คุณธรรมข้อนี้จะช่วยให้เราเป็นคนมีจิตใจหนักแน่นไม่โลเล รวมทั้งยังเป็นการสร้างความนิยม และไว้วางใจให้แก่ผู้อื่นอีกด้วย
องค์การมีองค์ประกอบ 4 ประการ
1. องค์การกลุ่มบุคคล จำนวนหนึ่ง Social Interaction
2. องค์การมีหน้าที่ จำนวนหนึ่ง (มีหลายหน้าที่) Funtion
3. องค์การมี Pattern of Behavior (Organization culture)
4. Material Component

โดยปกติรัฐประศาสนศาสตร์ มี 5 แขนง
1. การจัดการ (Management)
2. ตัวองค์การ (Organization Behavior)
3. การพัฒนาองค์การ (Development Administration)
4. นโยบายสาธารณะ (Public Policy)
5. ทางเลือกสาธารณะ (Public Choice)
----------------------------------------------------------