รปม. ม.สยาม รุ่นที่ 12 - 13

ยินดีต้อนรับสู่แหล่งรวมข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษา หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสยาม รุ่นที่ 12 - 13

ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล ผวจ.นครปฐม และ นักศึกษา รปม.12 ม.สยาม

งานเลี้ยงสังสรร รปม. รุ่น 12 ค่ำวันอาทิตย์ที่ 6 มิถุนายน 2553

วันอาทิตย์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

หลักธรรมาภิบาล มีองค์ประกอบ 6 หลัก ดังต่อไปนี้

ระบบการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี หรือหลักธรรมาภิบาล(GOOD GOVERNANCE)

หลักธรรมาภิบาล หมายถึง แนวทางในการจัดระเบียบเพื่อให้สังคมของประเทศทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจ เอกชนและภาคประชาชน สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข และตั้งอยู่ใน ความถูกต้องเป็นธรรม ตามหลักพื้นฐานการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีตามแผนภาพ ดังนี้
1. หลักนิติธรรม (The Rule of Law) หลักนิติธรรม หมายถึง การปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ โดยถือว่าเป็นการปกครองภายใต้กฎหมายมิใช่ตามอำเภอใจ หรืออำนาจของ ตัวบุคคล จะต้องคำนึงถึงความเป็นธรรม และความยุติธรรม รวมทั้งมีความรัดกุมและ รวดเร็วด้วย
2. หลักคุณธรรม (Morality) หลักคุณธรรม หมายถึง การยึดมั่นในความถูกต้อง ดีงาม การส่งเสริม ให้บุคลากรพัฒนาตนเอง ไปพร้อมกัน เพื่อให้บุคลากรมีความซื่อสัตย์ จริงใจ ขยัน อดทน มีระเบียบ วินัย ประกอบอาชีพสุจริต เป็นนิสัย ประจำชาติ
3. หลักความโปร่งใส (Accountability) หลักความโปร่งใส หมายถึง ความโปร่งใส พอเทียบได้ว่ามีความหมาย ตรงข้าม หรือเกือบตรงข้าม กับการทุจริต คอร์รัปชั่น โดยที่เรื่องทุจริต คอร์รัปชั่น ให้มี ความหมายในเชิงลบ และความน่าสะพรึงกลัวแฝงอยู่ ความโปร่งใสเป็นคำศัพท์ที่ให้แง่มุมในเชิงบวก และให้ความสนใจในเชิงสงบสุข ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ได้สะดวกและเข้าใจง่าย และมีกระบวนการให้ประชาชนตรวจสอบความถูกต้องอย่างชัดเจนในการนี้ เพื่อเป็น สิริมงคลแก่บุคลากรที่ปฏิบัติงานให้มีความโปร่งใส ขออัญเชิญพระราชกระแสรับสั่งในองค์พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ที่ได้ทรงมีพระราชกระแสรับสั่ง ได้แก่ ผู้ที่มีความสุจริต และบริสุทธิ์ใจ แม้จะมีความรู้น้อยก็ย่อมทำประโยชน์ให้แก่ส่วนรวมได้มากกว่าผู้ที่มีความรู้มาก แต่ไม่มีความสุจริต ไม่มีความบริสุทธิ์ใจ
4. หลักการมีส่วนร่วม (Participation) หลักการมีส่วนร่วม หมายถึง การให้โอกาสให้บุคลากรหรือผู้มี ส่วนเกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมทางการ บริหารจัดการเกี่ยวกับการตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ เช่น เป็นคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และหรือ คณะทำงานโดยให้ข้อมูล ความคิดเห็น แนะนำ ปรึกษา ร่วมวางแผนและร่วมปฏิบัติ
5. หลักความรับผิดชอบ (Responsibility ) หลักความรับผิดชอบ หมายถึง การตระหนักในสิทธิและหน้าที่ ความสำนึกในความรับผิดชอบต่อสังคม การใส่ใจปัญหาการบริหารจัดการ การกระตือรือร้นในการแก้ปัญหา และเคารพในความคิดเห็นที่แตกต่าง รวมทั้งความกล้าที่จะยอมรับผลดีและผลเสียจากกระทำของตนเอง
6. หลักความคุ้มค่า (Cost – effectiveness or Economy) หลักความคุ้มค่า หมายถึง การบริหารจัดการและใช้ทรัพยากรที่มีจำกัด เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ส่วนรวม โดยรณรงค์ให้บุคลากรมีความประหยัด ใช้วัสดุอุปกรณ์อย่างคุ้มค่า และรักษาทรัพยากรธรรมชาติให้สมบูรณ์ยั่งยืน

แจ้งข่าวจากเพื่อนถึงเพื่อน

ข่าวฝากจากเพื่อนถึงเพื่อน
สวัสดีครับ เพื่อน MPA 12-13 ทุกท่าน

เนื้อที่ตรงนี้ ขออุทิศให้เป็นพื้นที่สำหรับการฝากข่าวต่างๆ ให้เพื่อนๆในรุ่นได้รับทราบโดยทั่วกัน เพื่อที่ทุกคนจะได้ไม่ตกข่าวที่อาจารย์ฝากให้คนที่มาเรียนได้รู้กัน ตลอดจนเรื่องราวอื่นๆทั่วไปด้วยครับ

เรื่องแรกสำหรับวันอาทิตย์ที่ 30 พฤษภาคม 2553 คือ อาจารย์สุพล เน้นย้ำขอให้นักศึกษาทุกคน อ่านหนังสือและ Sheet ที่แจกให้ล่วงหน้าก่อนเข้าเรียนด้วย เพราะในชั้นเรียน อาจารย์จะไม่บรรยาย แต่จะสอบถามและเปิดเวทีให้นักศึกษาสัมมนาในเนื้อหาที่เรียน....


รายงานกลุ่มวิชาของ อ.สุรพล กาญจนะจิตรา

ข้อมูลการแบ่งกลุ่มเพื่อจัดทำรายงานในวิชาของ ดร.สุรพล กาญจนะจิตรา
กลุ่มที่ 1 : การวิเคราะห์เปรียบเทียบข้อดี ข้อเสีย ของหน่วยราชการ (กระทรวง กรม) กับองค์การมหาชน
  1. น.ส.พัฒน์ชนะสรณ์ สุขใย
  2. นายพีระ รุกขชาติ
  3. นายวิฑูรย์ แสงเอก
  4. นายเพิ่มพงศ์ พวงระย้า
  5. น.ส.กมลชนก ดลจิตร์
  6. พระเดชา รู้เพียร

กลุ่มที่ 2 : วิเคราะห์เปรียบเทียบข้อดี ข้อเสีย ระหว่างข้าราชการกับพนักงานราชการ

  1. นายปรีชา ด้วงหร่าย
  2. พระเมา เสือน
  3. พระสำโอน เญิล
  4. น.ส.พักตร์วิภา มาประชา
  5. นายสมปอง หนูแหยม
  6. พ.ต.ท.นิวัตน์ เทียนศิริ

กลุ่มที่ 3 : วิเคราะห์ข้อดี ข้อเสีย ของการถ่ายโอนภารกิจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

  1. พระกุศล ฮุน
  2. พระมณีวัน โห
  3. นายไชยทัต นิวาศะบุตร
  4. นายปรีช ดิษย์เมธาโรจน์
  5. นายไพศาล สายแสง

กลุ่มที่ 4 : วิเคราะห์ข้อดี ข้อเสีย ของการแปรรูปรรัฐวิสาหกิจ

  1. นายสมบัติ เสียมทอง
  2. นางจันทรัตน์ บุญหนัก
  3. น.ส.ณัฐฐินี ธรรมจารีย์
  4. ร.ต.ท.สมบูรณ์ เวกสูงเนิน
  5. น.ส.เพ็ชราภรณ์ ชัชวาลชาญชนกิจ
  6. พระพงษ์ธิชัย อินทปัญโญ

อาจารย์แจ้งว่า ขอให้แต่ละกลุ่มประชุมกันตอนเลิกเรียนในช่วงเย็น เพื่อจัดทำรายงาน และกำหนดให้แต่ละกลุ่มทำการ Present หน้าชั้น ในการเรียนครั้งที่ 7 โดยใช้เวลาประมาณ 15 - 30 นาที

ข้อสังเกตุ : อาจารย์จะเป็นผู้จับสลากเรียกตัวแทนกลุ่มออกมานำเสนอหน้าชั้น ดังนั้น ทุกคนในกลุ่มจะต้องมีส่วนร่วมและรู้เรื่องที่กลุ่มตัวเองทำเป็นอย่างดี มิฉะนั้น จะออกมานำเสนอไม่ได้ และจะถูกตัดคะแนน